ทุกวิกฤตคือโอกาส แค่รู้เคล็ดลับ Food Delivery

Start

April 24, 2020 - 10:00 am

End

April 24, 2020 - 11:00 am

Address

  View map

BU Workshop from Home
” ทุกวิกฤตคือโอกาส แค่รู้เคล็ดลับ Food Delivery “

เน้นการอบรมเรื่อง
1. เริ่มต้นเข้าสู่ธุรกิจอาหาร Delivery อย่างมีระบบได้อย่างไร
2. มีช่องทางการขาย และการกำหนดเป้าหมายยอดขายอย่างไร

และวิทยากรให้แนวคิด เรื่องต่างๆ เพื่อให้คนที่สนใจจะไปเริ่มต้นได้
– การตั้งกลุ่มลูกค้าเป็นมิตร
– การเลือกเมนูขายและประเมินกำลังการผลิต
– การตั้งราคาขาย
– พื้นที่การขาย และการตลาด
– การส่งและการเก็บเงิน

 

ระบบที่ใช้ Google Meet

วิทยากรไขข้อคำถามจากผู้เข้าร่วมฟัง Workshop

NUMTIP HOMCHUEN : ถ้ามีวิกฤตที่ต้องกู้สถานะการณ์ สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคืออะไรหรอค่ะ

ตรวจสอบผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงๆกับเราก่อนว่ามีอะไรบ้าง อาการหนัก ปลานกลาง น้อย แค่ไหน ตั้งสติ เริ่มจากตัวเราก่อนว่า สามารถแก้ไข และจะทำอะไร เริ่มทำสิ่งที่ตัวเองถนัด ทำเรียงลำดับตามความสำคัญก่อนหลัง ทำทีละเรื่อง แน่นอนรายได้ลดมาก่อนอย่างอื่น ดังนั้นควรลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นก่อน แล้วดูว่าเราจะสร้างได้อันไหนได้เพิ่มเติม ถ้าจะเป็น Delivery ก็ให้เริ่มจากใช้ของในบ้าน เมนูในบ้าน ที่เราถนัด เน้นสื่อสาร ให้ชัดเจน

ink Sans แซม : หากเปิดร้านขายขายออนไลน์ แล้วไม่ได้เป็นอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้ควรทำอย่างไรคะ

ต้องดูก่อนว่า ที่เป้าไม่ได้จากเหตุผลอะไร ปกติแล้วควรดูว่า สินค้าของเรานั้นได้ตามมาตรฐานหรือที่เรากำหนด ตรงตามความต้องของลูกค้าหรือไม่ ถ้าดูแล้วส่วนพื้นฐานนี้ไม่มีปัญหา ก็ให้ดูเรื่องฐานปริมาณของลูกค้าว่าเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็ให้ขยายฐานเพิ่ม สุดท้ายให้พยายามเพิ่มความถี่ในการซื้อ ทำให้สินค้ามีความหลากหลาย ซื้อได้แบบไม่จบไม่สิ้น

PATTARAKWAN YODKAEW : จะทำอย่างไรให้ธุรกิจ food delivery เติบโตได้ในต่างจังหวัดคะ ที่เป็นจังหวัดเล็กๆ

ทำเหมืนอกันทุกที่ครับ ก่อนจะเติบโต ควรเข้าใจว่าลูกค้าหลัก หรือลองของเราเป็นใคร พฤติกรรมการบริโภคของพวกเค้าเป็นอย่างไร อำนาจการซื้อเป็นอย่างไร ซื้อกันบ่อยแค่ไหน ดูตลาดขายอาหารแต่ละประเภทที่เกิดขึ้นในชุมชนว่าเป็นร้านอะไร เอามาช่วยคิดตัดสินใจว่าเราควรขายอะไรได้ และต้องศึกษาการสื่อสารเพื่อที่จะเข้าถึงลูกค้าในต่างจังหวัดให้ชำนาญ

WORALAK NAKHONSAN : จำเป็นต้องมีหน้าร้านมั้ยคะ ควรเริ่มด้วยการทำแบบโฮมเมด หรือ หากให้โรงงานทำ OEM ควรจัดการอย่างไรคะ

ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านครับ สามารถเริ่มจากใช้ครัวเล็กในบ้านของเราก่อน ถ้าทำแล้วผลตอบรับดี ทำมาเท่าไหร่ก็ขายหมด ศึกษาตลาดให้ได้สักช่วงนึงก่อนจะดีมาก เพราะเวลาจะลงทุนอะไรเพิ่มจะได้ไม่ผิดหวัง ถ้าศึกษาแหล่งที่มาของรายได้เป็นที่แน่ชัดในระยะยาวแล้วก็ เริ่มขยาย ค่อยพึ่งโรงงานที่ทำ OEM แต่เนื่องจากเราอยู่ที่ของเรา ไม่มีหน้าร้าน ดังนั้นการประชาสัมพันธ์บนโลก Online จึงจำเป็นขยันทำมากๆ บ่อยๆ ถี่ๆ เท่าที่จะทำได้

CHOMPUNOOT SITTIGAROON : จำเป็นต้องจดทะเบียนการค้าอิเล็กทรอนิกส์มั้ยคะ

ที่ถูกต้องควรทำครับ เพราะจะดีต่อการขายและเรื่องยื่นภาษี เมื่อร้านมีรายได้พอประมาณแล้ว แต่ช่วงนี้เป็นช่วงที่เราทดลอง อะไรได้รายได้ก็ต้องทำด้วยกันทั้งนั้น หลับตาข้างนึง ทำไปก่อนได้ ควรลองทำให้จับต้องได้ สร้างรายได้จริง แล้วค่อยเดินจดทะเบียนต่อไป

ARISARA KAMCHEENSEE : ในต่างจังหวัด food delivery ยังไม่เป็นที่นิยม มีคำแนะนำยังไงให้เราสามารถแนะนำลูกค้าให้มาสนใจการสั่งอาหารออนไลน์คะ

ทำเหมืนอกันทุกที่ครับ ก่อนจะเติบโต ควรเข้าใจว่าลูกค้าหลัก หรือลองของเราเป็นใคร พฤติกรรมการบริโภคของพวกเค้าเป็นอย่างไร อำนาจการซื้อเป็นอย่างไร ซื้อกันบ่อยแค่ไหน ดูตลาดขายอาหารแต่ละประเภทที่เกิดขึ้นในชุมชนว่าเป็นร้านอะไร เอามาช่วยคิดตัดสินใจว่าเราควรขายอะไรได้ และต้องศึกษาการสื่อสารเพื่อที่จะเข้าถึงลูกค้าในต่างจังหวัดให้ชำนาญ

THANAKRIT LOHATHUM : คิดว่าสินค้าที่ไม่ใช่อาหารจานหลัก เช่น น้ำพริกต่างๆ น้ำปรุงรสอาหาร ผลไม้แปรรูป สามารถพัฒนาเป็นรายได้หลักเลยได้มั้ยครับ

ทำได้ครับ ขอให้มีความน่าสนใจ ผ่านเกณฑ์ อยู่ภายใต้ของถูกหลักอนามัย มีความปลอดภัย อร่อยจริง ราคาได้ คุ้มค่า น่าลอง ลองดูตลาดแรกๆ ที่ละขั้น เริ่มจากทีละน้อยๆ ที่เราไหว แล้วค่อยเพิ่มและทำให้มั่นคง จรเป็นรายได้หลัก ทันทีที่เห็นโอกาสมีรายได้เข้าอย่างสม่ำเสมอ

THANAPORN SIRIPROMSOMBUT : อาจารย์คะ คิดว่ามนุษย์เราน่าจะสามารถพัฒนา Food Delivery ไปได้ไกลขนาดไหนคะ

ยังไปได้อีกไกลครับ เพราะตลาดนี้มีการแข่งขันตลอดเวลา มีความต้องการอย่างสม่ำเสมอ ขนาดตอนนี้ระบบขนส่งเรายังไม่ดีมากนักตัวเลขยอดขาย Delivery ยังสูงมาก แล้วถ้าระบบขนส่งถูกพัฒนาไปมากกว่านี้ มีพลังงานทดแทน มีเทคโนโลยีใหม่มาช่วยทำให้สินค้าอยู่ได้นานขึ้น รับรองยังไปได้อีกไกล และไกลมากด้วย

Jonny Test : ควรใช้กลยุทธ์หรือการตลาดแบบไหน เพื่อให้ลูกค้ารู้จักครับ

ตอนนี้ตามที่เห็นในธุรกิจอาหารเดลิเวอรี่แล้ว ของหนีไม่พ้นกลยุทธ์ โปรโมชั่น ลด แรก แจก แถม สะสมแต้ม ชุดชุดคุ้ม เบ็ดเสร็จในการซื้อครั้งเดียว เพราะส่วนใหญ่ทำกันหมดแล้ว ถ้าเราขายแบบธรรมดาสู้ไม่ได้แน่นอน แต่ควรจะมีแผน Push & Pull แฝงแบบต่อเนื่องด้วย เพื่อดึงลูกค้าให้สนใจมาสั่งซื้อก่อน แล้วค่อยเชียร์เมนูแนะนำให้เกิดการซื้อต่อครั้งมากขึ้นด้วย

KUNJIRA TANGISSARIYASAKUL : ทำอย่างไร เพื่อเพิ่มขยายฐานลูกค้าได้บ้างคะ

  1. คุณแน่ใจว่ากลุ่มลูกค้าหลัก กลุ่มรองของเราคือใคร ได้ตามกำหนดปริมาณลูกค้าตั้งแต่ต้นไว้แล้วว่าต่อวัน ต่อเดือน อยู่ที่กี่คน แต่ถ้าในกรณีจำนวนลูกค้าที่เข้ามาซื้อต่ำกว่าเป้าหมาย ก็ให้ขยายพื้นที่การขาย โดยขยายให้ตรงกลุ่มของลูกค้านะครับ เพราะถ้าขยายผิดอาจจะเหนื่อยฟรี
  2. ถ้าลูกค้ากลุ่มเดิมหมด ก็ให้เพิ่มรายสินค้าเด็ดๆ โดนๆ สัก 2-3 รายการ เพื่อให้มีฐานลูกค้ากลุ่มใหม่เพิ่ม

Varot Prasarnsermsong : food delivery หมายถึงพูดในแง่ร้านอาหารจับมือกับ grab, food panda อะไรอย่างงี้หรือเปล่าครับ หรือมีด้านอื่นๆ ด้วยครับ

ใช่บางส่วนครับ แต่ไม่จำเป็นต้องพึ่งคู่ค้าก็ได้ เพราะถ้าเราสามารถส่งเองได้ก็จะเหลือเงินมากขึ้น แต่จะเหนื่อยนิด เสี่ยงหน่อยครับ

ink Sans แซม : หากเราทำอาหารที่มีอายุ อาหาร ไม่เกิน 3-5 วัน วิธีการส่งลูกค้า

สามารถส่งได้ครับ ให้ศึกษาระบบขนส่งแบบด่วนประจำวันให้ดี เพราะตอนนี้มีบริการด่วนแบบนี้เปิดเยอะขึ้นมาก ได้จนถึงส่งทางเครื่องบิน ส่งจาก กทม. ไปภูเก็ต ส่งผ่านทางเครื่องบินพาณิช ไม่เกิน 3 ชั่วโมงปลายทางได้รับของแล้ว ราคาไม่แพงด้วย คุ้มครับ ลองหาข้อมูลดูบนเว็บไซต์ของระบบขนส่งส่งหลายๆ แบบมาเปรียบเทียบดูนะครับ ไปรษณีย์ / รถไฟ / เครื่องบิน / รถทัวร์ / เอกชน ฯลฯ

PHAKANANT CHAROEMSAB : ร้านอาหารที่มีระบบเดลิเวอรี่ของตัวเองอยู่แล้วเช่นpizzaหรือkfc ทำไมถึงต้องมาใช้ระบบเดลิเวอรี่ของบริษัทอื่นเช่น grab, foodpanda ด้วยครับ

จริงๆ ฐานลูกค้าของแต่ละพื้นที่ ก็เป็นกลุ่มเดียวกันครับ แต่เมื่อเราใช้ฐานลูกค้าของ GRAB หรือ FOODPANDA ก็เท่ากับว่าเรามีมืออาชีพมาช่วยเรื่องการโฆษณามากขึ้น มีกลยุทธ์มากขึ้น มีเวลาในการโปรโมทบ่อยขึ้น มีวิธีและรูปแบบใหม่ๆ ให้ผู้บริโภคเห็นมากขึ้น และมีบริการส่งถึงมือลูกค้าได้ทันที ข้อแม้ลูกค้าอยู่ไกลร้านมาก ก็ลดลงทำให้ลูกค้าสั่งมากขึ้น

SirBoom : คิดว่าในช่วงนี้หากมีคนเข้ามาในธุรกิจ delivery หากหลังจากผ่านพ้นวิกิต คิดว่าธุระกิจนี้จะดำเนินต่อไปได้อีกหรือไม่และคิดว่าลูกค้าจะหายไปมากน้อยแค่ไหนครับผมเนื่องจากร้านค้าร้านอาหารต่างๆก็จะมีการกลับมาเปิดร้านปกติครับผม

ก็ธรรมชาติของการเอาตัวรอดขั้นพื้นฐานนะครับ วิธีไหนทำได้แล้วดี ก็จะมีคนแห่มาทำกันจำนวนมาก แต่รอให้ผ่านไปสักพักนึงแล้วก็จะเริ่มเห็นเหลือแต่ตัวจริง คนที่อยู่รอดได้ขายต่อได้ ลูกค้ากับรายได้ จะเป็นตัวบอกว่าใครคือตัวจริง ส่วนเรื่องธุรกิจเดลิเวอรี่ตอนหมดวิกฤตแล้ว ยังไงก็ยังอยู่ตลอด แต่จะอาจจะไม่มากเท่าตอนวิกฤตแน่ เพราะคนออกไปไหนไม่ได้ ถูกกักตัว มีเคอร์ฟิวส์ แต่เป็นปกติ เริ่มออกนอกบ้านได้แล้ว คราวนี้ล่ะ คงออกกันทันที เพราะอั้นกันไว้เยอะ อยากออก อยากเที่ยว อยากเจอเพื่อน อยากใช้เงิน อยากออกไปพักผ่อน ทำให้เดลิเวอรี่ตกลงได้ครับ

AEKKAPHONG SAE WU : สามารถทำในต่างประเทศหรือเปล่าครับ เช่นประเทศเพื่อนบ้านพม่าอะครับ

ทำได้ครับ เพราะทุกวันนี้มีบริษัท เล็ก ใหญ่ ทำกันอยู่แล้วครับ และอีกอย่าง เรากับเพื่อนบ้านเปิดการค้าเสรีกันแล้ว เปิดตลาดอาเซี่ยนแล้ว สามารถทำได้ง่ายขึ้นด้วยครับ

KINGKARN PHADUNGRAT : อยากรู้ว่าช่องทางชำระเงินของลูกค้าสามารถจ่ายได้ทางไหนบ้างคะ

ตอนนี้มีระบบช่วยเหลือการโอนเยอะแยะเลยครับ เช่น การชำระผ่าน APP. ต่างๆ มากมาย สามารถใช้ระบบการตัดเงินสดในบัตรก็ได้ ไม่ต้องนับเงิน จับเงิน ให้ยุ่งยาก

NITHIRUT OROTTAIRAT : ขอ file สไลหน่อยครับ

โหลดจากลิงค์ของมหาลัยได้เลยครับ learningspace.bu.ac.th/event

ink Sans : ส่งอาหารแล้วสินค้ามีปัญหาแตกบ้าง เละบ้าง ต้องทำลูกค้าได้รับกล่องสินค้า ที่บุบมา ต้องทำไงคะ

ช่วงแรกๆ มีครับ แต่เนื่องจากอยู่ธุรกิจเดลิเวอรี่มานาน จึงเลือกใช้กล่องอาหารหรือ packaing แข็งแรง และกระเป๋าบรรจุสินค้าระหว่างส่ง ที่ป้องกันความเสียหายของทั้งกล่องและสินค้าไว้ตั้งแต่แรกแล้ว

THANAPORN SIRIPROMSOMBUT : ถ้าธุรกิจแบบ Food Delivery มีบทบาทมากขึ้น จะมีอะไรที่มีบทบาทน้อยลงหรือ ไปเสริมบทบาทของธุรกิจอะไรหรือเปล่าคะ

การนั่งทานที่ร้านอาหารต่างๆ พนักงานให้บริการลดลง การเดินทางออกนอกบ้านมาทานอาหารลดลง ธุรกิจเรื่องการกักตุนอาหารไว้ได้นานๆ จะดีแน่ครับ พวกตู้แช่ต่างๆ ระบบการถนอมอาหารต่างๆ ดีขึ้นแน่นอน

NARUETEP SUWANTADA : การตั้งราคาขาย ต้อง + เปอร์เซ็นต์ GP ของบริการส่งอาหารเท่าไหร่ถึงจะคุ้มทุนครับ

%ตัวเลขค่าส่งมี 2 ช่วงครับ ถ้าส่งเอง %อยู่ที่ประมาณ 3-10% ของค่าอาหาร ต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับระยะทาง ค่าน้ำมันและพาหนะที่ใช้ในขณะนั้น แต่ใช้คู่ค้า GRAB, Foodpanda %อยู่ที่ 30-35% ดังนั้นต้องเลือกก่อนว่าใช้ใครส่ง แล้วค่อยเอา % มาคำนวนดูก่อนตั้งราคาขาย+%ค่าส่งก่อนว่า พอบวกแล้ว ค่าอาหารสูงขึ้นมากแค่ไหน สูงเกินตลาดทั้วไปแค่ไหน สามารถเช็คสอบถามจากคนใกล้ตัวได้เลยทันทีว่าราคาที่เราตั้งนั้นรับได้หรือไม่ แต่ถ้าลูกค้ารับได้ก็โอเค และควรใช้หลักการรักษาสมดุลของการบริหารต้นทุนและรายได้ ควรเลือกเมนูที่ต้นทุนต่ำมาขาย เพราะว่าถ้า %ค่าส่งสูง ก็ไม่ต้องตั้งราคาขายสูงมากจนลูกค้ารับไม่ได้

KYY dtu : ขอวิธีการ คำนวน ต้นทุน กำไร ให้ด้วยได้ไหมคะ ขอบคุณมากค่ะ

MORE DETAIL